การจัดการสู่ความยั่งยืน

เข้าร่วมพิธีเปิดบันทึกข้อตกลงความร่วมมือและสัมมนาโครงการแพลตฟอร์มรายงานการปล่อยก๊าชเรือนกระจกขององค์กร เพื่อมุ่งสู่ Net Zero

เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 นายไพทูล รำจวนจร และนายอนุชัย จิรวัฒนกร เป็นตัวแทนบริษัท พรีเมียร์ควอลิตี้สตาร์ช จำกัด (มหาชน) (“PQS”) ได้เข้าร่วมพิธีเปิดบันทึกข้อตกลงความร่วมมือและสัมมนาโครงการแพลตฟอร์มรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร เพื่อมุ่งสู่ Net Zero ( การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ : CFO Platform ) กับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) และที่ปรึกษาโครงการ ณ ห้องราชพฤกษ์บอลรูม สโมสรราชพฤกษ์ กรุงทพฯ

บริษัท PQS เราได้ตัดสินใจเข้าร่วม CFO Platform นี้ และได้ผ่านการคัดเลือกเป็นองค์กรนำร่อง ถือเป็น 1 ใน 45 บริษัทจากทั้งประเทศที่ผ่านการคัดเลือก โดย PQS จะได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการขึ้นทะเบียน Net Zero ทั้งหมด พร้อมทีมที่ปรึกษาจะให้คำปรึกษาผ่านระบบ CFO Platform โดยทั้งนี้ บริษัท PQS ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและมุ่งสู่ความยั่งยืนในทุกมิติ จึงได้กำหนดเป้าหมาย Net Zero ในปี 2573 นี้

หลักการและแนวคิดการพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน

การดำเนินธุรกิจต้องเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน นำมาซึ่งความเสี่ยงและโอกาส ดังนั้นธุรกิจต้องปรับตัวและพัฒนาตนเองอยู่เสมอเพื่อให้สามารถอยู่รอดและเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน การพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืนจึงเป็น “เรื่องสำคัญ” ที่ทุกธุรกิจต้องบูรณาการและขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบตามบริบทองค์กร

หลักการของเรื่องนี้คือ
การที่ธุรกิจให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ
มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ
ควบคู่กับการดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
อย่างเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการดำเนินธุรกิจโดยปกติ

กระบวนการขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่ความยั่งยืน

การบริหารจัดการความเสี่ยง

การจัดการความเสี่ยงเป็นสิ่งสำคัญในการเติบโตและความยั่งยืน การวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและการพัฒนาแผนการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมจะช่วยลดผลกระทบที่เป็นไปได้

ความรับผิดชอบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม

ตั้งใจทำธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม นี่คือแนวทางที่ช่วยให้ธุรกิจเข้ากับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและสิ่งแวดล้อม

การสร้างความน่าเชื่อถือในตลาด

สร้างความน่าเชื่อถือในตลาดด้วยคุณภาพสินค้าและบริการที่ยอมรับได้ การดูแลและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าช่วยให้ธุรกิจมีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่ง

การนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้

การนำเทคโนโลยีที่เป็นมาตรฐานและนวัตกรรมมาปรับใช้ในธุรกิจช่วยให้เกิดความปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้า

การสร้างความร่วมมือ

การร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และรัฐบาลสามารถเสริมสร้างทักษะและทรัพยากรที่เป็นประโยชน์ในการขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่ความยั่งยืน

การวัดและประเมินผล

การวัดและประเมินผลการดำเนินธุรกิจในมุมของความยั่งยืน ช่วยให้องค์กรมีความเข้าใจในปัจจ

มิติด้านสิ่งแวดล้อม
สังคม
ธรรมาภิบาล
กิจกรรมความยั่งยืน

เน้นการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนในระยะยาว ซึ่งการเข้าร่วมกิจกรรมแบบนี้ส่วนมากจะส่งผลให้ธุรกิจหรือองค์กรมีการทำงานที่ยั่งยืนและเกิดความเชื่อมั่นในทุกด้าน นี่คือตัวอย่างกิจกรรมความยั่งยืนที่สามารถดำเนินได้