คณะกรรมการตรวจสอบ
บทบาทหน้าที่
รายงานทางการเงิน
(1) สอบทานให้บริษัทมีรายงานทางการเงินถูกต้องตามที่ควรตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไปและมีการเปิดเผยอย่างเพียงพอ
การควบคุมภายในและการควบคุมความเสี่ยงด้านการเงิน
(2) สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล
(3) สอบทานความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับระบบการควบคุมภายใน และความเสี่ยงด้านการเงินที่อาจมีผลกระทบต่อองค์กร
การปฏิบัติตามกฎหมาย
(4) สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
(5) พิจารณาสอบทานนโยบายและมาตรการต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชัน เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทได้ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ตามกฎหมาย
(6) พิจารณาสอบทานประมวลจรรยาบรรณ และความมีประสิทธิผลของระบบการติดตามการปฏิบัติตาม และการบังคับใช้ประมวลจรรยาบรรณ
(7) สอบทานให้บริษัทมีระบบการรับแจ้งเบาะแสการกระทำผิดและการทุจริต ตลอดจนการดำเนินการให้พนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ สามารถให้ข้อมูลในเรื่องที่ตนเป็นกังวลเกี่ยวกับความไม่เหมาะสมของรายงานทางการเงินหรือเรื่องอื่นๆ ได้อย่างมั่นใจ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าข้อร้องเรียนทั้งหมดจะได้รับการสอบสวนข้อเท็จจริงอย่างเป็นอิสระและมีการติดตามที่เหมาะสม
(8) พิจารณาสอบทานรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน และข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท
(9) ดำเนินการตรวจสอบพฤติการณ์อันควรสงสัยว่ากรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทได้กระทำความผิดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 89/25 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 (รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติม) ซึ่งผู้สอบบัญชีได้ตรวจพบและรายงานให้ทราบ และให้คณะกรรมการตรวจสอบรายงานผลการตรวจสอบในเบื้องต้นให้แก่คณะกรรมการบริษัท สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และผู้สอบบัญชีทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้สอบบัญชี ทั้งนี้ พฤติการณ์อันควรสงสัยที่ต้องแจ้งและวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ดังกล่าวให้เป็นไปตามประกาศของคณะกรรมการกำกับตลาดทุน
(10) ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ หากพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทำดังต่อไปนี้ ซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัท ให้คณะกรรมการตรวจสอบรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร
-
-
- รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
- การทุจริตหรือสิ่งผิดปกติหรือมีความบกพร่องที่สำคัญในระบบควบคุมภายใน
- การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
-
หากคณะกรรมการบริษัทหรือผู้บริหารไม่ดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาตามวรรคหนึ่งกรรมการตรวจสอบรายใดรายหนึ่งอาจรายงานว่ามีรายการหรือการกระทำ นั้นต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ผู้สอบบัญชี
(11) พิจารณาและให้ข้อเสนอแนะในการแต่งตั้งกลับมาใหม่ และการเลิกจ้างผู้สอบบัญชีของบริษัทรวมทั้งการกำหนดค่าสอบบัญชี
(12) สอบทานความเป็นอิสระของผู้สอบบัญชี รวมทั้งนโยบายในการว่าจ้างผู้สอบบัญชีเพื่อทำหน้าที่ให้บริการอื่นที่มิใช่การสอบบัญชี
(13) สอบทานแผนการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีสำหรับการตรวจสอบรายงานทางเงินของบริษัท
(14) ประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีเป็นการเฉพาะอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อหารือในเรื่องต่างๆ ที่คณะกรรมการตรวจสอบ หรือผู้สอบบัญชีเห็นว่าควรพิจารณาเป็นการส่วนตัว
การตรวจสอบภายใน
(15) พิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้าย เลิกจ้างและการพิจารณาผลการปฏิบัติงาน ความดีความชอบของหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน ร่วมกับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
(16) สอบทานและให้ความเห็นต่อแผนตรวจสอบภายใน การปฏิบัติงานของหน่วยงานตรวจสอบภายในและประสานงานกับผู้สอบบัญชี
(17) สอบทานรายงานตรวจสอบซึ่งจัดทำโดยหน่วยงานตรวจสอบภายใน รวมทั้งแนวทางการแก้ไขของผู้บริหารและรายงานติดตามผลการตรวจสอบดังกล่าว
(18) ประชุมร่วมกับหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในเป็นการเฉพาะอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อหารือในเรื่องต่างๆ ที่คณะกรรมการตรวจสอบ หรือหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในเห็นว่าควรพิจารณาเป็นการส่วนตัว
อื่นๆ
(21) ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย